“ เป็นศูนย์กลางสร้างเครือข่ายการผลิตพืช ผลิตสัตว์เศรษฐกิจ เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี
วิถีเกษตรทฤษฎีใหม่ สู่ความมั่นคงและยั่งยืน”
ตัวชี้วัดความสำเร็จตามเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดมหาสารคาม
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดมหาสารคามที่กำหนดไว้ จึงมีการกำหนดตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาจังหวัด ดังนี้
- ภาคการเกษตรมีความเข้มแข็งและสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเกษตรกร
- ศูนย์กลางการสร้างเครือข่ายเพิ่มศักยภาพด้านการผลิตพืช และสัตว์เศรษฐกิจ
- แผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมจากล่างสู่บน
- ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนา
- ส่งเสริมและพัฒนาระบบ การผลิต การแปรรูปผลผลิต และการตลาดสินค้าเกษตร และอาหารคุณภาพ
- ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการผลิตสินค้าด้านการเกษตรตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่
- บูรณาการจัดทำแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมระดับชาติจากล่างสู่บน
- พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในอาชีพเกษตรกรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : ส่งเสริมและพัฒนาระบบ การผลิต การแปรรูปผลผลิต และการตลาด สินค้าเกษตรและอาหารคุณภาพ
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ : กลุ่มเกษตรกร องค์กรเกษตรกรมีความเข้มแข็งสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มการผลิตสินค้าด้านการเกษตร
กลยุทธ์ที่ 1 : ส่งเสริม พัฒนาเสริมสร้างความเข้มแข็ง เพิ่มศักยภาพให้กับเกษตรกรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร
กลยุทธ์ที่ 2 : ส่งเสริม สนับสนุนการรวมกลุ่มองค์กรเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ
กลยุทธ์ที่ 3 : จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายและแนวทางแก้ไขปัญหาและพัฒนาภาคเกษตรกรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการผลิตสินค้าด้านการเกษตรตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ : เป็นศูนย์กลางการสร้างเครือข่ายการผลิตสินค้าด้านการเกษตรตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่
กลยุทธ์ที่ 1 : ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายเพื่อเชื่อมโยงการผลิตสินค้าด้านการเกษตรตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่
กลยุทธ์ที่ 2 : เป็นศูนย์กลางประสานงานการพัฒนาความร่วมมือระหว่างเครือข่ายองค์กรเกษตรกรกับภาครัฐ และภาคเอกชน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : บูรณาการจัดทำแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมระดับชาติจากล่างสู่บน
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ : มีแผนพัฒนาเกษตรกรรมที่บูรณาการจากระดับล่างสู่บน โดยการมีส่วนร่วมของเกษตรกรโดยผู้มีส่วนได้เสีย
กลยุทธ์ที่ 1 : การจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมจังหวัด
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในอาชีพเกษตรกรรม
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ : องค์กรเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี ประกอบอาชีพด้านการเกษตรด้วยความมั่นคง และยั่งยืน
กลยุทธ์ที่ 1 : ส่งเสริมให้เป็นแหล่งผลิตสินค้าการเกษตรแปรรูปและอาหารปลอดภัย
กลยุทธ์ที่ 2 : สร้างอำนาจต่อรองให้เกษตรกรได้ผลตอบแทนสูงสุด
กลยุทธ์ที่ 3 : เพิ่มช่องทางการตลาดในภาคนอกการเกษตรเพื่อพัฒนาเป็นเกษตรอุตสาหกรรมและบริการให้มากขึ้น
กลยุทธ์ที่ 4 : เสนอแนะให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน ดอกเบี้ยต่ำ
กลยุทธ์ที่ 5 : สร้างสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของเกษตรกร